เมนู

แม้คาถานี้ว่า
พระชินพุทธเจ้านี้ อันพรหมอาราธนาเพื่อทรง
แสดงธรรมเมื่อไร ก็คาถานี้ใครยกขึ้นกล่าว กล่าวเมื่อ
ไร กล่าวที่ไหน

มีเนื้อความที่กล่าวไว้แล้ว แต่ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาบทที่ยาก
แห่งคาถานี้ที่กล่าวแล้ว โดยความสัมพันธ์นี้ ดังต่อไปนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา ความว่า ชื่อว่าพรหม เพราะ
เป็นผู้เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ ก็

พรหม

ศัพท์นี้ ปรากฏอยู่ในอรรถทั้งหลาย
มีมหาพรหม พราหมณ์ พระตถาคต มารดาบิดา และผู้ประเสริฐสุดเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น พรหมศัพท์ ท่านหมายว่ามหาพรหม ในประโยคเป็นต้นว่า
ทฺวิสหสฺโส พฺรหฺมา มหาพรหมสองพัน. ท่านหมายว่าพราหมณ์ในคาถานี้ว่า
ตโมนุโท พุทฺโธ สมนฺตจกฺขุ
โลกนฺตคู สพฺพภวาติวตฺโต
อนาสโว สพฺพทุกฺขปฺปหีโน
สจฺจวฺหโย พฺรหฺเม อุปาสิโต เม.

ดูก่อนพราหมณ์ พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความ
มืด ผู้มีพระจักษุโดยรอบ ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วง
ภพทั้งปวง ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้หมด เรียก
กันว่า พระสัจจะ เราก็เข้าเฝ้าใกล้ชิด.
ท่านหมายว่า พระตถาคต ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมาติ โข ภิกฺขเว
ตถาคตสฺเสตํ อธิวจนํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายว่า พรหม นี้แลเป็นชื่อของ
ตถาคต.

ท่านหมายว่า มารดาบิดา ในบาลีนี้ว่า
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร มารดาบิดาเรา
เราเรียกว่าพรหม เรียกว่าบุรพาจารย์.

ท่านหมายว่าประเสริฐสุด ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ ทรง
ยังจักรอันประเสริฐสุดให้เป็นไป.
ส่วนในที่นี้ ท่านผู้เจริญปฐมฌานอันประณีตแล้วบังเกิดในภูมิแห่ง
ปฐมฌาน ท่านหมายว่ามหาพรหมมีอายุกัปหนึ่ง. ศัพท์ มีอรรถว่ารวมความ
อธิบายว่า พรหมและพรหมเหล่าอื่นในหมื่นจักรวาล. หรือว่า ศัพท์เป็นเพียง
ทำบทให้เต็ม. โลก 3 คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก ชื่อว่าโลกในคำว่า
โลกาธิปตินี้. ในโลกทั้ง 3 นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสัตวโลก. ชื่อว่าโลกา-
ธิปติ เพราะเป็นใหญ่เป็นเจ้าแห่งสัตวโลกนั้น ผู้เป็นเจ้าส่วนหนึ่งแห่งโลก
ท่านก็เรียกว่า โลกาธิบดี เหมือนเทวาธิบดี นราธิบดี.
บทว่า สหมฺปติ ความว่า เล่ากันมาว่า พรหมองค์นั้น เป็น
พระเถระ ชื่อว่า สหกะ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ทำปฐมฌานให้เกิดแล้ว ฌานไม่เสื่อม จบชีวิต ก็บังเกิดเป็นมหาพรหมมีอายุ
หนึ่งกัป ในปฐมฌานภูมิ. แต่ในสมัยนั้น เขาก็จำพรหมองค์นั้นกันได้ว่า
ท้าวสหัมบดีพรหม ท่านกล่าวหมายถึงพรหมพระองค์นั้น คนทั้งหลาย
เมื่อควรจะกล่าวว่าสหกปติ แต่ก็กล่าวเสียว่า สหมฺปติ โดยลงนิคคหิตอาคม
ขยายคำออกไป. บทว่า กตญฺชลี แปลว่า มีอัญชลีอันทำแล้ว อธิบายว่า ทำ
กระพุ่มอัญชลีไว้เหนือเศียร. บทว่าอนธิวรํ ความว่า พรที่ล่วงส่วน พรที่ยิ่ง
ไม่มีแก่พรนั้น เหตุนั้น พรนั้น ชื่อว่าไม่มีพรที่ยิ่ง หรือว่าชื่อว่าอนธิวรํ เพราะ
ไม่มีพรที่ยิ่งไปกว่านั้น อธิบายว่ายอดเยี่ยม พรอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า อยาจถ
ได้แก่ ได้วอนขอ ได้เชื้อเชิญ.

บัดนี้ ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประ
โยชน์ใด เพื่อแสดงประโยชน์นั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สนฺตีธ สตฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่ อันเขาได้อยู่ อธิบายว่าสัตว์
ทั้งหลายที่มาสู่คลองพุทธจักษุ [ปรากฏ] มีอยู่. ศัพท์ว่า

อิธ

นี่เป็นนิบาต ใช้
ในการอ้างถึงถิ่นที่ ศัพท์ว่า อิธนี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงศาสนา เหมือน
อย่างที่ตรัสว่า อิเธว ภิกขเว สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ อิธ ตติโย สมโณ
อิธ จตุตฺโถ สมโณ สุญฺญา ปรปฺปวาทา สมเณกิ อญฺเญหิ
ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ 1 สมณะที่ 2 สมณะที่ 3 สมณะที่ 4 มีอยู่ในศาสนา
นี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้.
บางแห่งหมายถึง โอกาส เหมือนอย่างที่ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
อิเธว ติฏฺฐมานสฺส เทวภูตสฺส เม สิโต
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส.

เมื่อเราเป็นเทพตั้งอยู่ในโอกาสนี้นี่แล เราก็ได้
อายุต่อไปอีก โปรดทราบอย่างนี้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์.

บางแห่ง ก็เป็นเพียงปทปูรณะ ทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัส
ไว้ว่า อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราแลบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ก็พึงห้าม ไม่ให้เขาถวายอีก [โดยชัก
พระหัตถ์ออกจากบาตร] บางแห่งหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิธ
ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย
ตถาคตอุบัติ
ในโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก แม้ในที่นี้ อิธ ศัพท์ ก็พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลกเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าในสัตว์โลกนี้. บทว่า
สตฺตา ความว่า ชนทั้งหลาย ติด ขัด ข้อง คล้อง เกี่ยว อยู่ในขันธ์ทั้งหลาย